วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

50 ปี ชุมชนของข้าพเจ้า


                  ในปีพุทธศักราช 2484 ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ตีผ่านประเทศไทย ไปยังประเทศพม่า และประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484  โดยยกพลขึ้นบกบริเวณชายฝั่งทะเล ด้านตะวันออก ของจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ซึ่งประสบกับความเสียหายอย่างหนัก จากการต้านทานของไทยจนเกิดวีรกรรมของเหล่าทหารหาญที่เสียชีวิตในหลายสมรภูมิ และได้สร้างอนุสาวรีย์ของวีรบุรุษเหล่านั้นไว้ เช่น อนุสาวรีย์วีรไทยเจ้าพ่อจ่าดำ จังหวัดนครศรีธรรมราช, พ.อ.ขุนอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี, ขุนนันทเสนีย์ เสนาณรงค์ จังหวัดสงขลา เป็นต้น จากการต่อสู้ที่ห้าวหาญในครั้งนั้น ญี่ปุ่นไม่ประสบความสำเร็จ ในการยกพลขึ้นบก และไทยสามารถป้องกันมิให้ญี่ปุ่นรุกรานพม่า และมาเลเซียได้ภารกิจก็เดินทางกลับ
  เมื่อนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยทหารหลักหน่วยแรก....ซึ่งแยกตัวมาจาก... ร.11 พัน.2 ..จังหวัดเพชรบุรี ก็ได้เดินทาง เข้าที่ตั้ง ณ ค่ายคอหงษ์ (ค่ายเสนาณรงค์) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2482 และในปีต่อมา หน่วยทหารทั้ง 6 หน่วย ก็เข้าที่ตั้งเป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะปกป้องผืนแผ่นดินไทย ทุกตารางนิ้ว ในพุทธศักราช 2484 ได้เกิด กรณีพิพาทสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศสขึ้น กองทัพบก ได้สั่งการ ให้กองพันทางภาคใต้เป็นกองหนุนของหน่วย ในภาคตะวันออก ภาคอีสาน และ ภาคเหนือ จนกระทั่งจบภารกิจก็เดินทางกลับ
       . ในปีพุทธศักราช 2492 จัดกำลังร่วมกับฝ่ายมาเลเซีย ในการปราบปรามโจรคอมมิวนิสต์มาลายา บริเวณ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
.......... ในปีพุทธศักราช 2508 ลัทธิคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของจีน ได้แผ่อิทธิพลครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไทยเป็นเป้าหมายสำคัญตามทฤษฎีโดมิโน ในขณะนั้นกองทัพบกได้วิเคราะห์ภัยคุกคามของไทยห้วง 1-2 ทศวรรษ แล้ว หากเกิดกรณีพิพาทกองกำลังต่างชาติ อาจจะยกพลขึ้นตามชายฝั่งทะเล จึงได้พิจารณาขยายหน่วยกำลังทหารหลักในพื้นที่ภาคใต้ เป็นหน่วยระดับกองพล และในวันที่ 3 มีนาคม 2518 ได้จัดตั้ง กองพลทหารราบที่ 5 ขึ้น เพื่อควบคุมหน่วย 2 กรมผสม โดยมีที่ตั้งครั้งแรกที่อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาย้าย กองบัญชาการกองพลไปตั้งที่ ค่ายเสนาณรงค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อปราบปรามโจรคอมมิวนิสต์มาลายาเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งฝ่ายไทยได้สูญเสียกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และงบประมาณ จำนวนมหาศาล จนกระทั่งเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2522 ได้ย้ายกองบัญชาการกองพลเข้าที่ตั้งปกติ ณ ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จนถึงปัจจุบัน
                                                                                  นางสาวนริสรา   ศรีวิจิตร

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

12 คำจาก 100 คำที่ควรรู้

1.      กระบวนทัศน์  (  Paradigm )
        กระบวนทัศน์  หมายถึง  ทัศนะการมองโลกความเป็นจริงอันเป็นที่มาของวิธีคิด  วิธีปฏิบัติ  บางคนแปลว่าทัศนะแม่บท เพราะเป็นทัศนะพื้นฐานที่เป็นตัวกำหนดวิธีคิด วิธีให้คุณค่าและวิถีชีวิตทั้งหมดของผู้คน  คำนี้มาจากหนังสือ  Structure of Scientific Revolution  ของ   Thomas Kuhn
ที่เขียนขึ้นมาเมื่อกลางศตวรรษที่แล้ว  เขาบอกว่า เมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์  ก็จะเกิดการปฏิวัติวิทยาศาตร์ เช่นที่เกิดขึ้นชัดเจนในยุคของนิวตัน  รองไอส์ไตน์  ที่  “ มองโลกด้วย กระบวนทัศน์ใหม่ 
หนังสือจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษของฟริตจอฟ คาปรา พูดเรื่องการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไว้อย่างละเอียด  วิเคราะห์ให้เห็นด้านลบของกระบวนทัศน์ในฝั่งตะวันตกที่ครอบงำโลกในปัจจุบัน  คิดแบบแยกส่วน  แบบลดทอน ซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม  ความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติ  คนกับคน  การเสื่อมสลายของชุมชน  สังคม คาปราเขียนเรื่องตำแหน่งฟิสิกส์  เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าของแนวคิดแบบชาวตะวันออก  ที่ควรเป็นฐานกระบวนทัศน์ใหม่ไปสู่สังคมใหม่ เพราะเน้นที่ความสัมพันธ์ ความสมดุล และองค์รวมคล้ายกับฟิสิกส์สมัยใหม่

2.   ผลประโยชน์ทับซ้อน  (  Conict of Interest  )
        ผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึงผลประโยชน์ชัดกันระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม  รูปแบบผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มนักการเมืองหรือข้าราชการ  อาจเป็นการรับผลประโยชน์ต่าง ๆ  เช่น การรับของขวัญจากบริษัทธุรกิจ สนับสนุนค่าเดินทางให้กับผู้บริหาร และการ ไปประชุมต่างประเทศ หรือหน่วยงานราชการรับเงินบริจาคเพื่อสร้างสำนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ได้รับของแถมของขวัญ หรือผลประโยชน์อื่นตอบแทนการทำธุรกิจกับตัวเอง  มีส่วนได้ ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานที่ตนสังกัด  ทำสัญญาซื้อสินค้าจากบริษัทของตนเอง  หรือจ้างบริษัทของตนเป็นที่ปรึกษา  หรือซื้อที่ดินของตนเองในการจัดสร้างสำนักงานเป็นทั้งผู้ซื้อและเป็นทั้งผู้ขาย ในเวลาเดียวกัน
        ผลประโยชน์ทับซ้อน  ก็อาจหมายถึง  การทำงานหลังจากลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ หรือหลังจากที่เกษียณจากหน่วยงานของรัฐ  ไปทำงานในบริษัทเอกชน  ที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน  การทำงานพิเศษรับจ้างเป็นที่ปรึกษาโครงการ  การรู้ถึงข้อมูลภายใน และใช้ประโยชน์จากการรับรู้ข้อมูลภายในเพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของตนเอง เช่น ทราบว่าจะมีการตัดถนนกันตรงไหน  ก็รีบไปซื้อที่ดินโดยใส่ชื่อภรรยา  การใช้สมบัติของราชการเพื่อประโยชน์ของธุรกิจส่วนตัว  การนำเครื่องใช้ในสำนักงาน  กลับมาใช้ที่บ้าน 

3.      ปราชญ์ชาวบ้าน 
        ปราชญ์ชาวบ้าน  หมายถึง สามัญชนคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา  อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ในชนบทที่ได้รับการยกย่องจากชาวบ้านทั่วไปว่าเป็นผู้มีภูมิปัญญามีความรู้ความสามารถในการอธิบายและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  เป็นคนดีมีคุณธรรม  เพราะภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวมของชีวิต  แม้ว่าปราชญ์ชาวบ้านบางคนนั้น จะมีความรู้เฉพาะเรื่องอย่างถ่องแท้  แต่ก็เป็นความรู้อันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งหมด  เป็นความรู้ที่ทำให้ชีวิตโดยรวม เกิดความมั่นคง  ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข
        ปราชญ์ชาวบ้าน จึงเป็นคนที่เข้าใจปรัชญาชีวิตอย่างลึกซึ้ง  ทำให้คนเห็นคุณค่าและความหมายของชีวิตเข้าใจในสาเหตุที่มาของปัญหา และเป็นผู้นำในการแสวงหาทางออกด้วยสติปัญญา  ปราชญ์ชาวบ้านมองชีวิตรอบด้าน  และยึดมั่นในคุณค่าและคุณธรรม   โดยทั่วไปคนที่เป็นปราชญ์ย่อมไม่ยกย่องตนเองว่าเป็นปราชญ์ซึ่งคนอื่น โดยเฉพาะนักวิชาการ  ข้าราชการ  เอ็นจีโอ  คนนอกชุมชนที่ยกย่อง  และให้เกียรติ  เรียกพวกเขาว่าปราชญ์ชาวบ้าน
4.  พลังงานสะอาด  (  Green Energy  )
        พลังงานสะอาดหมายถึง พลังงานที่ไม่ทำลาย หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย  เป็นพลังงานจากธรรมชาติ       แหล่งพลังงานไม่เป็นมลพิษ  สามารถควบคุมกระบวนการผลิตให้มีผลกระทบน้อย เช่น พลังงาน ชีวมวล พลังงานลม  พลังงานน้ำ  พลังงานจากคลื่นจากปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานจากพืช  พลังงานความร้อนใต้พิภพ 
        พลังงานสะอาดช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ   สัมพันธ์โดยตรงกับการพัฒนายั่งยืน  เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ก่อให้เกิดการผลิตไฟฟ้ามาจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก  ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่



5.      จิตสำนึก   (  Consciousness, Awareness  )
           จิตสาธารณะ    (Public Mind  )
        ความหมายทางชีวจิตวิทยา คือการรับรู้  การรู้ตัว  เป็นสภาวะที่ตื่นอยู่รู้ได้ เข้าใจได้สั่งการได้เจตนาอันเป็นปัจจุบัน ส่วนคำว่าจิตใต้สำนึก ทางจิตวิเคราะห์อธิบายว่า    เป็นตัวเราที่เราไม่รู้ตัว     เป็นอีกคนหนึ่งที่อยู่ในตัวเรา ซึ่งผลักดันให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งปกติและไม่ปกติ  ซึ่งบ่อยครั้งเราเองก็ยังงงว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำได้อย่างไร  ทำไปทำไม
        ความหมายทางสังคม  หมายถึง การรับรู้ในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้อื่น  ต่อสังคม  และสิ่งแวดล้อมเป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือศืลธรรม  เช่น  การแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ  คงทำได้ยากถ้าหากไม่ช่วยกันสร้างจิตสำนึกการเคารพกฏหมาย  และการมีวินัย  ไม่ใช่เคารพกฎเป็นบางครั้งเช่นใส่หมวกกันน๊อกเมื่อเห็นตำรวจอยู่ตามสี่แยก  หรือใส่หมวกเมื่อรู้ว่าข้างหน้ามีตำรวจ
        ในประเทศไทย เริ่มมีการใช้คำว่า จิตสาธารณะ  เพื่อหมายถึงบุคคลที่มีจิตสำนึกทางสังคม มีความรับผิดชอบและเสียสละต่อส่วนรวม เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น  ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน




6.      คืนสู่ธรรมชาติ  (  Back to the Nature  )
        คืนสู่ธรรมชาติ  เป็นกระแสโลกปัจจุบันที่พบว่า การพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสามร้อยปีที่ผ่านมาได้ทำลายธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไปมากจนเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม  จึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีเหลืออยู่  และฟื้นฟูที่เสียไปให้กลับมาให้ได้มากที่สุด  เพื่อฟื้นฟูความสมดุลในทางธรรมชาติ ยุคนี้จึงเป็นยุคของ สุขภาพ  ปลอดสารเคมี  อินทรีย์ธรรมชาติ     เป็นยุคที่คนเห็นคุณค่าและความสำคัญของผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง  รวมไปถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น  ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ธรรมชาติมากกว่าผลผลิต ของสังคมยุคใหม่ และไฮเทค

7.      การพึ่งตนเอง  (  Self – Reliance  )
        การพึ่งตนเอง เป็นสภาวะอิสระ คือ ความสามารถของคนที่จะช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด  โดยไม่เป็นภาระของคนอื่นมากเกินไป  มีความพอดีในชีวิต ความพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่  มีสิ่งจำเป็นปัจจัยสี่พอเพียง เป็นความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
        การพึ่งตนเอง หมายถึง การจัดการชีวิตให้สัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับคน  สังคม  และธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา  การพึ่งตนเอง คือการมีสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิต ในปัจจุบันไปจนถึงอนาคต  สวัสดิการที่พร้อมตอบสนองเราได้ทันที  โดยที่เราไม่ต้องไปเรียกใครมาจัดการสวัสดิการให้  หรือให้ใครเข้ามาช่วยเหลือ  ( ผู้ใหญ่วิบูลย์   เข็มเฉลิม  )
        เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นรากฐานของการพึ่งตนเองทั้งระดับครอบครัว ระดับชุมชน  ดังทรงมีกระแสรับสั่ง เมื่อวันที่   18 กรกฏาคม  พ.ศ.  2517   ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ว่า  การพัฒนาประเทศ  จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น  ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่ก่อน  เบื้องต้นโดยใช้วิธีการ  และอุปกรณ์ที่ประหยัด  แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  เมื่อได้พัฒนาบนความมั่นคงพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว  ค่อยสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นสูงในลำดับต่อไป 

8.   ไบโอดีเซล
          ไบโอดีเซล เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตจากน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เช่น ปาล์ม สบู่ดำ  มะพร้าว  ถั่วเหลืองดอกทานตะวัน  น้ำมันงา  น้ำมันพืช และน้ำมันพืชและสัตว์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว  นำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับแอลกอฮอล์ ( เมทานอลหรือเอทานอล )  จนมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล  เรียกว่า ไบโอดีเซล หรือ    B100    คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซล  คือ  สามารถย่อยสลายได้เอง  ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ  และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
        แก๊ซโซฮอล์   เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มาจากการผสมกันระหว่าง น้ำมันเบนซิน  กับเอทานอล หรือแอลกอฮอล์ จากผลผลิตทางการเกษตร แก๊ซโซฮอล์  95  มาจากการผสม เอทานอลในปริมาณ 10 เปอร์เซ็นต์กับน้ำมันเบนซิน  91   อีก  90  เปอร์เซ็นต์  เรียกว่า  E10  ถ้าเอทานอล ร้อยละ 20  เรียกว่า E20

       9.      เกษตรผสมผสาน       
        เกษตรผสมผสาน เป็นชื่อกลางเพื่อหมายถึงการทำเกษตรที่ปลูกหลาย ๆ อย่าง เลี้ยงหลาย ๆ  อย่าง ทำกิจกรรมทางการเกษตรอย่างผสมผสานกัน เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนเกื้อกูลกัน เช่น  การปลูกพืช  ไม้ใหญ่ไม้เล็กไม้ผล  ไม้ใช้สอย  ปลูกผัก  เลี้ยงสัตว์หลายชนิด ทั้ง  ปลา  ไก่  หมู  เป็ด   วัว ควาย   รวมทั้งการนำเอาผลผลิตมาแปรรูป ทำไว้กินไว้ใช้  ที่เหลือค่อยเอาไปขายเพื่อนำเงินมาซื้อสิ่งที่ตนผลิตเองไม่ได้  รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
        เกษตรผสมผสานมีมานานแล้ว เช่น สวนสมรมในภาคใต้ ซึ่งปลูกไม้ผล พืชผักไว้กินมีหลาย ๆ อย่างตามที่ครอบครัวต้องการ หลายอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และปล่อยไว้โดยไม่มีการจัดการอะไรเป็นพิเศษ บางแห่งก็ปลูกแซมไว้ในป่า  เป็นสวนในป่าธรรมชาติ
        หลักคิดสำคัญของการทำเกษตรผสมผสานคือ การทำเพื่ออยู่เพื่อกินเป็นหลัก  ไม่ได้มุ่งไว้ขาย  ไม่ได้ทำแบบเอาเป็นเอาตาย  หรือเน้นการลงทุนมาก  ไม่ได้เน้นการผลิตให้มีมาก ๆ  เพื่อจะได้ขายและได้เงินมามาก  ๆการทำเกษตรผสมผสานมีเป้าหมายคือการพึ่งตนเองเป็นหลัก  โดยเฉพาะด้านอาหาร  ทั้งสมุนไพร ของใช้สอยต่าง ๆ และพอมีรายได้บ้าง  อยู่อย่างพอเพียง
        เกษตรผสมผสานมีการจัดการอย่างเป็นระบบ  โดยสิ่งที่ปลูกที่เลี้ยงจะเกื้อกูลกัน เสริมกัน เช่น  สัตว์ได้พืชผักเป็นอาหาร  พืชผักก็ได้มูลสัตว์เป็นปุ๋ย  ได้น้ำในบ่อปลาไปให้พืชผัก  เอาไม้ที่ปลูกมาทำประโยชน์ในครัวเรือนและในสวน  เป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน

10.   ทฤษฏีระบบ (  Systems Theory  ) 
        ทฤษฏีระบบ เป็นทฤษฏีสหวิทยาการว่าด้วยความสัมพันธ์อันซับซ้อนของธรรมชาติ  สังคม  และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นกรอบคิดที่ใช้อธิบายกลุ่มคน องค์กร หรือสิ่งต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์กันและก่อให้เกิดผลบางอย่าง เป็นวิธีคิดที่ให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้ทุกส่วนมีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อกัน  ดังในกรณีระบบนิเวศ  ระบบอินทรีย์  ( สิ่งมีชีวิต )  ระบบสังคม  ระบบองค์กร
        ทฤษฏีระบบเป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ  ให้สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นธรรมชาติ จนไม่สามารถพิจารณาส่วนต่าง ๆ อย่างแยกจากกัน เหมือนกับที่เกิดขึ้นในอดีตที่แยกส่วนและลดทอนทั้งหมด
ลงมาเหลือแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง  วิทยาศาสตร์และการประยุกต์ใช้วิธีคิดแบบลดทอน  ก่อให้เกิดความเสียสมดุลในชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  เห็นได้ชัดในด้านการแพทย์  การศึกษา  การพัฒนา การบริหารการจัดการบ้านเมือง ทฤษฏีระบบเน้นความเป็นองค์รวม  บูรณาการให้ทุกส่วนสัมพันธ์กัน  เป็นองคาพยพเดียว  เช่น การศึกษาไม่แยกจากชีวิต  การพัฒนาที่เอาชีวิตผู้คน  ชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง

11.       ประโยชน์นิยม    (Utilitarianism)
        ประโยชน์นิยม  เป็นแนวคิดทางปรัชญาที่บอกว่า  คนเรามีเป้าหมายอยู่ที่ความสุขและความพึงพอใจแต่อาจจะได้พบกับความทุกข์  ความผิดหวัง  ทำอย่างไรจึงจะได้อย่างแรกมากที่สุด  เมื่อถูกนำมาใช้ในเรื่องของเศรษฐกิจทางการเมือง  จึงกลายเป็นหลักคิดที่เน้นผลลัพธ์ มากกว่าชีวิตโดยรวมของประชาชน  เพราะคนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการเมืองเน้นผลลัพธ์ที่   แยกส่วน    หลาย ๆ ครั้งไม่ได้เอา  ความสุข    ของประชาชนมาเป็นเป้าหมาย แต่เอาการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมาย  และความสุขก็เป็นแค่ผลพลอยได้
        เพราะวิธีคิดแบบนี้ ทำให้ถูกละเลยเรื่องคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เช่นคำว่า  ค่าของคนอยู่ที่ผลงาน     ทำให้คนที่ไม่มีผลงาน เช่น คนป่วย  พิการ  คนชรา  คนด้อยโอกาส  เป็นคนที่ไม่มีค่าและอาจไม่ได้รับการดูแลในฐานะที่เป็นคนที่มีศักดิ์ศรีไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด วิธีคิดเช่นนี้อาจนำไปสู่การทำอะไรก็ได้ขอให้ได้ผลเป็นพอ แม้จะต้องใช้ความรุนแรงก็ตาม

12.       บริโภคนิยม  ( Consumerism )
        บริโภคนิยม  เป็นคำที่ใช้กันทั้งทางวิชาการและในทางสังคมทางวิชาการ หมายถึง ทฤษฏีที่บอกว่า ยิ่งมีการบริโภคมากขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ  ทางสังคมใช้คำนี้ไปในทางลบเพื่อบอกถึงลัทธิบริโภคนิยมหรือที่บางคนเรียกว่า  ลัทธิบ้าบริโภค   กลุ่มคนที่ใช้คำนี้ในทางลบ  เป็นกลุ่มขบวนการที่ต้องการจะปกป้องผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบ หลอกลวง  และครอบงำ ของผู้ผลิตที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ใช้เครื่องมือสื่อสารโดยเฉพาะสื่อมวลชนในการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้คนหลงใหล อยากได้ อยากมี และเข้าไปอยู่ในวงจรของหนี้สินที่ต้องกู้ยืมมาเพื่อการบริโภคจนถลำลึกถอนตัวไม่ขึ้น  ทำให้เกิดปัญหาชีวิต ปัญหา
        ลัทธิบริโภคนิยม  ตอบสนองกิเลสของมนุษย์  ทำให้ทุกคนเห็นว่าการมีบ้านหลังใหญ่   รถยนต์คันโตราคาแพง  ของใช้ที่มียี่ห้อต่าง   ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างสถานภาพทางสังคมให้กับตนเองทำให้ผู้อื่นยอมรับในสังคม


 

                          นางสาวนริสรา   ศรีวิจิตร